วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2561

การพัฒนาFacebook


Facebook



เฟซบุ๊ก (อังกฤษ: Facebook) เป็นบริการเครือข่ายสังคมสัญชาติอเมริกัน สำนักงานใหญ่อยู่ที่ เมนโลพาร์ก รัฐแคลิฟอร์เนีย เฟซบุ๊กก่อตั้งเมื่อวันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 โดยมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก และเพื่อนร่วมห้องภายในมหาวิทยาลัย และเหล่าเพื่อนในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พร้อมโดยสมาชิกเพื่อนผู้ก่อตั้ง Eduardo Saverin, Andrew McCollum, Dustin Moskovitz และ Chris Hughes ในท้ายที่สุดเว็บไซต์มีการเข้าชมอย่างจำกัด ทำให้เหล่านักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด แต่ภายหลังได้ขยายเพิ่มจำนวนในมหาวิทยาลัย ในพื้นที่บอสตัน ไอวีลีก และมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และค่อยๆรับรองมหาวิทยาลัยอื่นต่างๆ และต่อมาก็รับรองโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยเฟซบุ๊กให้การอนุญาตให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 13 ปีทั่วโลกสามารถสมัครสมาชิกได้ภายในเว็บไซต์ โดยไม่ต้องอ้างอิงหลักฐานใด ๆ

จากการศึกษาของเว็บ คอมพีต.คอม ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2009 เฟซบุ๊กถือเป็นบริการเครือข่ายสังคมที่มีคนใช้มากที่สุด เมื่อดูจากผู้ใช้ประจำรายเดือน รองลงมาคือ มายสเปซเอ็นเตอร์เทนเมนต์วีกลี ให้อยู่ในรายชื่อ สิ่งที่ดีที่สุดในสิ้นทศวรรษ และควอนต์แคสต์ ประเมินว่า เฟซบุ๊ก มีผู้ใช้ต่อเดือนราว 135.1 ล้านคน นับเฉพาะในสหรัฐอเมริกา

ข้อมูล ณ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554 จากเฟซบุ๊กมีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 584,628,480 สมาชิกทั่วโลก โดยเป็นสมาชิกจากประเทศไทย รวม 6,914,800 สมาชิก

ประวัติ ของการพัฒนาfacebook

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ได้เริ่มเขียนเว็บไซต์ เฟซแมช ขึ้นมาก่อนที่จะเป็นเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 2003 ขณะที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 ของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด โดยเป็นเว็บไซต์ที่เปรียบเสมือนเว็บ ฮอตออร์น็อต ของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด[5] และจากข้อมูลของหนังสือพิมพ์มหาวิทยาลัยที่ชื่อ The Harvard Crimson เฟซแมชใช้ภาพที่ได้จาก เฟซบุ๊ก หนังสือแจกสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยที่มีรูปนักศึกษา จากบ้าน 9 หลัง โดยจะมีรูป 2 รูปให้คนเลือกว่า ใครร้อนแรงกว่ากัน[6]
              มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก
เพื่อทำให้ได้สำเร็จ ซักเคอร์เบิร์กได้แฮกเข้าไปในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของฮาวาร์ดในพื้นที่ป้องกัน และได้คัดลอกภาพส่วนตัวประจำหอพัก ซึ่งในขณะนั้นฮาวาร์ดยังไม่มีสารบัญรูปภาพและข้อมูลพื้นฐานของนักศึกษา และเฟซแมชได้ทำให้มีผู้เข้าเยี่ยมชม 450 คน และดูรูปภาพ 22,000 ครั้งใน 4 ชั่วโมงแรกที่ออนไลน์[6] และเว็บไซต์นี้ได้จำลองสังคมกายภาพของคน ด้วยอัตลักษณ์จริง เป็นตัวแทนของกุญแจสำคัญด้านมุมมอง ที่ต่อมาได้กลายมาเป็น เฟซบุ๊ก[7]

เว็บไซต์ได้ก้าวไกลไปในหลายเซิร์ฟเวอร์ของกลุ่มในมหาวิทยาลัย แต่ก็ปิดตัวไปในอีกไม่กี่วันโดยคณะบริหารฮาวาร์ด ซักเคอร์เบิร์กถูกกล่าวโทษว่าทำผิดต่อระบบรักษาความปลอดภัย การละเมิดลิขสิทธิ์ และการละเมิดความเป็นส่วนตัว และยังถูกไล่ออก แต่ท้ายที่สุดแล้วข้อกล่าวหาก็ยกเลิกไป[8] ต่อมาซักเคอร์เบิร์กได้ขยับขยายโครงการในเทอมนั้นเอง โดยได้คิดค้นเครื่องมือการศึกษาทางสังคมที่ก้าวหน้า ของการสอบวิชาประวัติศาสตร์ โดยการอัปโหลดรูปเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โรม 500 รูป โดยมี 1 รูปกับอีก 1 ส่วนที่ให้แสดงความเห็น[7] เขาเปิดกับเพื่อนร่วมชั้นของเขา และคนเริ่มที่จะแบ่งปันข้อความกัน

ในเทอมต่อมาซักเคอร์เบิร์กเริ่มเขียนโค้ดในเว็บไซต์ใหม่ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2004 เขาได้รับแรงกระตุ้นให้ทำ เขาพูดไว้ใน The Harvard Crimson เกี่ยวกับเรื่อง เฟซแมช[9]และเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 ซักเกอร์เบิร์กได้เปิดตัวเว็บไซต์ "เดอะเฟซบุก" ในยูอาร์แอล thefacebook.com[10]

6 วันหลังจากเปิดเว็บไซต์ รุ่นพี่ 3 คน คือ แคเมรอน วิงก์เลวอส, ไทเลอร์ วิงก์เลวอส และดิฟยา นาเรนดรา ได้ฟ้องร้องซักเกอร์เบิร์กที่หลอกลวงพวกเขาให้เชื่อว่า เขาได้ช่วยที่จะช่วยสร้างเครือข่ายสังคมที่ชื่อว่า HarvardConnection.com ขณะที่เขาใช้แนวคิดพวกเขาในการสร้างเว็บไซต์เพื่อแข่งขัน[11] ทั้ง 3 คนได้บ่นในหนังสือพิมพ์ Harvard Crimson โดยทางหนังสือพิมพ์เริ่มทำการสอบสวน ต่อมาทั้ง 3 คนได้ยื่นฟ้องทางกฎหมายต่อซักเกอร์เบิร์กในภายหลัง[12]

แต่เดิม สมาชิกจะจำกัดเฉพาะนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด และภายในเดือนแรก มากกว่าครึ่งหนึ่งของนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ได้ลงทะเบียนใช้บริการ[13] เอ็ดวาร์โด ซาเวริน (ดูแลเรื่องธุรกิจ), ดิสติน มอสโควิตซ์ (โปรแกรเมอร์), แอนดรูว์ แม็กคอลลัม (กราฟิก) และคริส ฮิวส์ ที่ต่อมาได้ร่วมกับซักเกอร์เบิร์กเพื่อประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ และในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2004 เฟซบุ๊กได้ขยับขยายสู่มหาวิทยาลัยอื่นอย่าง สแตนฟอร์ด, โคลัมเบีย, และเยล[14]และยังคงขยับขยายต่อสู่กลุ่มไอวีลีกทั้งหมด และมหาวิทยาลัยบอสตัน, มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก, เอ็มไอที และสู่มหาวิทยาลัยอื่นในแคนาดาและสหรัฐอเมริกาไปทีละน้อย[15][16]

เฟซบุ๊กได้เป็นบริษัทในฤดูร้อนปี ค.ศ. 2004 และได้นักธุรกิจ ฌอน พาร์กเกอร์ ที่ได้เคยแนะนำซักเกอร์เบิร์กอย่างเป็นกันเอง ก็ได้ก้าวมาเป็นประธานของบริษัท.[17] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2004 เฟซบุ๊กได้ย้ายฐานปฏิบัติงานมาอยู่ที่ แพโลอัลโต รัฐแคลิฟอร์เนีย[14] และได้รับเงินทุนในเดือนนั้นจากผู้ร่วมก่อตั้ง เพย์พาล ที่ชื่อ ปีเตอร์ ธีล[18] บริษัทได้เปลี่ยนชื่อ โดยลดคำว่า เดอะ ออกไป และซื้อโดเมนเนมใหม่ในชื่อ เฟซบุ๊ก.คอม ในปี ค.ศ. 2005 ด้วยเงิน 2 แสนดอลลาร์สหรัฐ[19]

เฟซบุ๊กได้เปิดตัวในรูปแบบของโรงเรียนไฮสคูล ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2005 ที่ซักเกอร์เบิร์กเรียกว่า ก้าวต่อไปที่มีเหตุผล[20] ณ เวลานั้นในเครือข่ายไฮสคูล ต้องการการรับเชิญเท่านั้นเพื่อร่วมเว็บไซต์[21] ต่อมาเฟซบุ๊กได้ขยับขยายให้กับลูกจ้างบริษัทที่คัดสรรอย่าง แอปเปิล และ ไมโครซอฟท์[22] เฟซบุ๊กได้เปิดตัวเมื่อวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 2006 ให้ทุกคนได้ใช้กัน โดยต้องมีอายุมากกว่า 13 ปี และมีอีเมลที่แท้จริง[23][24]

ในวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 2007 ไมโครซอฟท์ประกาศว่าได้ซื้อหุ้นของเฟซบุ๊กเป็นจำนวน 1.6% ด้วยเงิน 240 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เฟซบุกมีมูลค่าราว 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[25] และทำให้ไมโครซอฟท์มีสิทธิ์ที่จะแขวนป้ายโฆษณาบนเฟซบุ๊กได้[26] ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2008 เฟซบุกประกาศว่าจะตั้งสำนักงานใหญ่ระดับนานาชาติในดับลิน ประเทศไอร์แลนด์[27]

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2009 เฟซบุ๊กได้กล่าวว่า สถานะการเงินเริ่มเป็นตัวเลขบวกเป็นครั้งแรก [28] ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2010 จากข้อมูลของ เซคันด์มาร์เก็ต ระบุว่าเฟซบุกมีมูลค่า 41 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (แซงหน้าอีเบย์ไปเล็กน้อย) และถือเป็นบริษัทเว็บไซต์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับ 3 รองจากกูเกิลและแอมะซอน[29]สถิติผู้เข้าชมในเฟซบุ๊กหลังปี ค.ศ. 2009 ผู้ชมเฟซบุ๊กมากกว่ากูเกิลในปลายสัปดาห์ของสัปดาห์ 13 มีนาคม ค.ศ. 2010 

การพัฒนาFacebook

Facebook เฟซบุ๊ก (อังกฤษ: Facebook) เป็นบริการเครือข่ายสังคมสัญชาติอเมริกัน สำนักงานใหญ่อยู่ที่ เมนโลพาร์ก รัฐแคลิฟอร์เนีย เฟซบ...